วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

ลักษณะการดูวัว

การเลือกวัวของคนโบราณนั้นมีตำราเขียนไว้ ซึ่งตำราจะดูจากตำแหน่งของขวัญ คือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอยบนร่างกายส่วนต่าง ๆ เช่น ขวัญแทงใจ คือขวัญอยู่ที่ใต้คอตรงที่เพชฌฆาตกำหนดไว้สำหรับแทง เป็นวัวที่ตกใจง่าย
- ชายคาหิ้น คือขวัญที่อยู่บริเวณด้านข้างตรงฝนตก ลงย้อยสุด ไม่ดี
- ขวัญอยู่ด้านข้างซ้าย เจ้าของจะพบกับความหายนะ
- ขวัญอยู่สันหลัง ดีนัก
- ขวัญอยู่ปลายหาง ดีนัก
- ขวัญอยู่หน้าผาก ดีนัก
- ขวัญอยู่หน้าด้านขวา ดีนัก
- ขวัญอยู่เท้าซ้าย ดีนัก
- ขวัญอยู่เท้าหลังข้างขวา ดีทุกประการ
- ขวัญอยู่เท้าหลังข้างซ้าย เจ้าของเป็นที่รักของคนทั้งหลาย
- ขวัญอยู่ด้านซ้ายทั้งหมด เจ้าของเป็นที่รักของคนทั้งหลาย
- ขวัญอยู่หลังปลายเท้า ไม่ดี
- ขวัญอยู่ที่เท้าทั้งหน้าและหลัง ดีมาก ควรผูกไว้หัวนอน เป็นวัวชนะ   ศึก
- ขวัญหน้าหนอก ชื่อว่า "งำเงา" ไม่ดี
- ขวัญยอดหนอก ดียิ่ง
- ขวัญอยู่สองบ่า ไม่ดี
- ขวัญอยู่บ่าข้างเดียว เจ้าของมักได้พรากจากคู่ครอง
- ขวัญอยู่ใต้ตา ได้ชื่อว่า "สองนางนั่งไห้" ไม่ดี
- ขวัญเรียงกันบนสันหลังตั้งแต่ ๓ ขวัญ ชื่อว่า "ย้ายบาท" ไม่ดี
- ขวัญอยู่สองฝ่ายข้างลำตัวเป็นคู่ ๆ ชื่อว่า "หงส์หามเต่า เต่าหาม     หงส์" ร้ายดีเท่ากัน
- ขวัญอยู่บริเวณข้างลำตัวที่พู่หางพาดถึง ชื่อว่า "สายหางคำ" จะ     นำพาสมบัติมาให้
- ขวัญอยู่บริเวณก้านหาง เจ้าของมักตายโหง
- ขวัญอยู่บนหัว มักเชื่องช้า
- ขวัญอยู่คางทั้งสองข้าง ดีนัก

- ขวัญอยู่โคนลิ้น ชื่อ "น้ำดั้นท่อ" ดีนัก
- ขวัญบริเวณใกล้ตา ไม่ดี


ตำราดูลักษณะวัว (ต่อ)ส่วนลักษณะอื่น จะดูจากลักษณะโดยรวมดังนี้ 
- สีดำ เท้าดำ หางดอก (พู่หางสีขาว) ดีนัก
- กีบเท้าสีเหลืองดังสีน้ำผึ้ง ดีนัก
- จมูกขาว กีบเท้าสีเหลือง ดีนัก
- กีบเท้าขาว ตัวสีขาวดังหอยสังข์ เจ้าของจะร่ำรวยเป็นเศรษฐี
- สีของหางเป็นบั้ง ๆ และตาแหวน (ตากลมใส) ดีนัก ให้ผูกไว้ใต้ถุน   ตรงกับที่นอนของเจ้าของ
- มีสีโก้งลายเล็น คือวัวด่างหรือวัวที่มีลายสลับสีน้ำตาลหรือดำเป็น     บั้งหรือเป็นทาง ถือว่าเป็นวัว ของผู้มีอำนาจ
- "หน้าแด่น หางดอก ตีนเท้า" คือวัวมีสีขาวที่หน้าผาก ที่พู่หางและ   บริเวณเท้าทั้งสี่ข้าง ถือเป็นพญาวัว
- ขนบริเวณคอขึ้นดก เรียกว่า "ไฟลามม่อน" ไม่ดี
- ลิ้นขาว ลิ้นดำหรือลิ้นขาวสลับดำ มีค่านับอนันต์
- ปากขาว ชื่อว่า "ดูดสมุทรก็เสี้ยง" ไม่ดี
- เขามีลักษณะคลอนไม่มั่นคง ชื่อว่า "เขาหม้าย" ไม่ดี
  นอกจากนี้ยังสามารถดูจากพฤติกรรมบางอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็น       ลักษณะของวัวที่ไม่ดี เช่น
- สีแหล่ง คือชอบเอาตัวไปถูเสาใต้ถุนบ้านหรือคอกทำให้เกิดความ     น่ารำคาญแก่คนที่อยู่บนบ้าน หรือทำให้คอกเสียหาย
- กัดเขี้ยว คือชอบกัดฟันเสียงดัง
- เคี้ยวหาง คือชอบเคี้ยวพู่หางเป็นประจำ
- นอนคราง คือชอบส่งเสียงครางขณะนอนอยู่
- นอนขน คือนอนกรน เป็นต้น





เครื่องประดับ

                                                                       
                                                                       หน้าเพชร
เกาะ

เขาลอง

เชือกขับ

กระดิ่ง

ขั้นตอนการทุบอัณทะวัว

ขั้นตอนแระผู้เลี้ยงวัวต้องล้มวัวและมัดขาวัวทั้ง 4 ขาให้นอนลง

ขั้นตอนที่สองหมอชาวบ้านก็จะบริเวณลูกอัณทะ เพื่อหาตำแหน่งของท่อน้ำอสุจิและนำมาประเมินว่าควรใช้แรงเท่าใดที่จะทุบลูกอัณทะ
ขั้นตอนที่สามใช้เชือก ผ้าหรือเถาสมุนไพร เช่น แสลงพันนำมาพันขอบขั่วลูกอัณทะที่ตำแหน่งที่จะใช้ของแข็งหรือไม้ทุบเพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลจากการทุบ
ขั้นตอนที่สี่ใช้ไม้ท่อนกลมลอดใต้ลูกอัณทะโดยให้ตำแหน่งลูกอัณทะวางบนตำแหน่งของไม้ที่สอดเพื่อเป็นตัวรับเมื่อใช้ไม้ทุบ
ขั้นตอนที่ห้าใช้ไม้หรือของแข็งทุบบนเชือกหรือเถาสมุนไพรที่มัดลูกอัณทะ
ขั้นตอนสุดท้ายนำเชือกที่พนออกจากลูกอัณทะแล้วใช้สมุนไพรทาลงบนอัณทะของวัวเพื่อให้ช่วยในการสมานบาดแผลที่เกิดขึ้นจากการทุบอัณทะ(การตอนวัว)

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การเตรียมความพร้อมวัว

     

     เจ้าของวัวจะนำวัวของตนเอามาอาบน้ำในตอนกลางวันแร้วก็อาบแดดจนถึงตอนเย็นในขณะที่อาบแดดนั้นให้กินหญ้าแค่พอประมาณถ้าให้วัวกินหญ้าเยอะไปก็จะทำใหวัวนั้นวิ่งไม่ออกบางคนก็จะบำรุงวัวด้วยไข่ดิบผสมกับน้ำหวานแล้วก็เอาหน้าเพชรแล้าใส่เขาลองให้กับวัวเพื่อที่จะเพิ่มความสวยงามแร้วพอถึงเวลาเย็นเจ้าของวัวแต่ละคนก็จะนำมารวมกันเพื่อำขึ้นรถที่จะนำวัวนั้นไปยังสถานที่จัดวัวลาน ซึ่งเป็นรถบรรทุก จะบรรทุกวัวไปยังสถานที่เล่นวัวลานตามที่นัดหมาย ซึ่งเรียกกันว่า "ลานวัว" ระหว่างทางก็จะมีการโห่ร้องอย่างสนุกสาน เพื่อให้เกิดความครึกครื้น วัวอยู่ตรงกลางรถ คนจะอยู่ที่ท้ายรถ และด้านบนของหัวรถ เมื่อไปถึงลานวัวเป็นเวลาที่พลบค่ำ เจ้าของวัวจะนำวัวลงจากรถบรรทุกนำไปผูกไว้ยัง "ราวผูกวัว" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้จัดให้มีการเล่นวัวลานเป็นผู้จัดเตรียมไว้ ซึ่งก็จะอยู่ติดกับ "ลานวัว"

กติกา

     

     การวัวลานในปัจจุบันนิยมเล่นในงานวัด เพื่อหารายได้ให้ทางวัด และในท้องนา จะเริ่มเล่นกันประมาณเวลา 22:00 - 8:00 น. วัวทั้งหมดจะวิ่งเป็นวงกลมรอบๆ ลานซึ่งมีเสาอยู่ตรงกลาง จะมีสองกลุ่ม ทั้งหมดมี 19 ตัว เรียกว่า วัวนอก กับ วัวคาน ซึ่งเป็น วัวที่มาร่วมเล่นด้วยโดยไม่แข่งขัน โดยที่วัวตัวในสุดจะเป็นวัวที่ตัวใหญ่ที่สุด และขนาดตัวของวัวก็จะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ



การเตรียมสถานที่เล่นวัวลาน ต้องมีที่เป็นลานกว้างสำหรับวัววิ่ง ปักหลักเกียด ซึ่งเป็นหลักไม้ไว้กลางลาน มีศูนย์กลางและเชือกพรวนไปตามแนวรัศมีของลานเป็น วงกลม แล้วนำวัวตัวผุ้มาผูกติดเป็นรัศมีออกไปยาว และมีราวสำหรับพักวัว การละเล่นจะมีผู้มาร่วมหลายคณะ
แล้วก็จะมีการต่อรองราคาเพราะความเห็นไม่ตรงกัน ของผู้ชมและเจ้าของ เมื่อการต่อรองเสร็จสิ้นก็จะนำวัวนอกมาผูกวิ่งเป็นวงนอกสุด (ซึ่งมีระยะการวิ่งไกลมาก) หลังจากนั้นก็ปล่อยให้มันวิ่ง แล้วก็ใช้เหล็กแหลมแทงมันเพื่อกระตุ้นพลัง การแพ้ชนะคือ เช่น วัวนอกหมดแรง หรือ วัวคานเชือกหลุด หรือวัวรองโดนวัวนอกแซงแล้วเบียดเข้ามาข้างในแทนตำแหน่งวัวรอง
การแข่งขันจะมี 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายวัวรอง และฝ่ายวัวนอก                                          ฝ่ายวัวรอง จะผูกวัวไว้ตามเชือกพรวนตามรัศมีของบานประมาณ 17-20 ตัว ตามแต่ตกลง แต่ต้องคัดเลือกวัวฝีเท้าดีประมาณ 3 ตัว ไว้รอบนอกคอยวิ่งกันมิให้วัวนอกของอีกฝ่ายหนึ่งที่จะนำมาผูกวิ่งแซงได้                                                                    ฝ่ายวัวนอก จะนำวัวที่มีฝีเท้าดีที่สุดมาผูกทับกับวัวรอง เพื่อจะได้แข่งขันกันว่าวัวใครมีฝีเท้าดีและเมื่อปล่อยวัวแล้ว ถ้าวัวนอกวิ่งแซงวัวรองได้และสามารถลากวัวรองไปได้อย่างไม่เป็นขบวนและทำให้วัวรองดิ้นหลุดจากระดับแถว แสดงว่าวัวนอกชนะ แต่ถ้าวัวรองสามารถวิ่งแซงวัวนอกและลากวัวนอกไปจนทำให้ดิ้นออกมาจากรัศมีแถวได้ ก็ถือว่าวัวรองชนะ ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแซงซึ่งกันและกันได้ก็เสมอกัน 





ประวัติ วัวลาน

     


     วัวลาน หรือ วัวระดอก เป็น การละเล่นพื้นบ้านในภาคกลางของไทย โดยใช้วัวพันธุ์ไทย มักจะเล่นในเวลากลางคืน เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ทำงานในตอนกลางวัน การเล่นวัวลานใช้วัวที่มีอายุประมาณ 5-9 ปี วัวแต่ละตัวจะมีเครื่องประดับวัวที่สวยงาม สำหรับสถานที่เล่นวัวลานนั้น นิยมเล่นกันในผืนนาที่ร้างไม่มีการทำนาหรือที่บริเวณกว้างและเรียบการเล่นวัวลาน ได้มีวิวัฒนาการมาจากการใช้วัวนวดข้าว เพราะลักษณะลานนวดข้าวเป็นวงกลมเป็นดินเหนียวที่อัดแน่นเป็นพื้นเรียบ แล้วส่วนใหญ่ชาวนาจะทาพื้นด้วยมูลวัวอีกทีหนึ่ง วิธีการนวดข้าวนั้น ชาวนาจะแยกเมล็ดข้าวออกจากรวงหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว โดยใช้แรงวัวมาช่วยนวดข้าว ชาวนาจะผูกวัวเรียงเป็นแถวหน้ากระดานไว้กับเสากลางลานบ้าน วัวที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลาง ไม่ต้องใช้กำลังและฝีเท้ามาก เพราะอยู่ในช่วงหมุนรอบสั้นวนเป็นรอบ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าข้าวจะหลุดออกจากรวงข้าวหมด แต่วัวตัวที่อยู่นอกสุดอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง ระยะทางที่ต้องหมุนจะยาวกว่า จึงต้องเลือกวัวตัวที่มีกำลังและฝีเท้าดีด้วยเหตุนี้ วัวหมุนรอบและเหยียบย่ำจนเมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว เมล็ดข้าวเปลือก วัวหมุนรอบและเหยียบย่ำจนเมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว เมล็ดข้าวเปลือกจะหล่นบนพื้นลานที่ปราบไว้ดีแล้ว การนวดข้าวจึงเกิดการละเล่นพื้นบ้านวัวลาน