วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การเตรียมความพร้อมวัว

     

     เจ้าของวัวจะนำวัวของตนเอามาอาบน้ำในตอนกลางวันแร้วก็อาบแดดจนถึงตอนเย็นในขณะที่อาบแดดนั้นให้กินหญ้าแค่พอประมาณถ้าให้วัวกินหญ้าเยอะไปก็จะทำใหวัวนั้นวิ่งไม่ออกบางคนก็จะบำรุงวัวด้วยไข่ดิบผสมกับน้ำหวานแล้วก็เอาหน้าเพชรแล้าใส่เขาลองให้กับวัวเพื่อที่จะเพิ่มความสวยงามแร้วพอถึงเวลาเย็นเจ้าของวัวแต่ละคนก็จะนำมารวมกันเพื่อำขึ้นรถที่จะนำวัวนั้นไปยังสถานที่จัดวัวลาน ซึ่งเป็นรถบรรทุก จะบรรทุกวัวไปยังสถานที่เล่นวัวลานตามที่นัดหมาย ซึ่งเรียกกันว่า "ลานวัว" ระหว่างทางก็จะมีการโห่ร้องอย่างสนุกสาน เพื่อให้เกิดความครึกครื้น วัวอยู่ตรงกลางรถ คนจะอยู่ที่ท้ายรถ และด้านบนของหัวรถ เมื่อไปถึงลานวัวเป็นเวลาที่พลบค่ำ เจ้าของวัวจะนำวัวลงจากรถบรรทุกนำไปผูกไว้ยัง "ราวผูกวัว" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้จัดให้มีการเล่นวัวลานเป็นผู้จัดเตรียมไว้ ซึ่งก็จะอยู่ติดกับ "ลานวัว"

กติกา

     

     การวัวลานในปัจจุบันนิยมเล่นในงานวัด เพื่อหารายได้ให้ทางวัด และในท้องนา จะเริ่มเล่นกันประมาณเวลา 22:00 - 8:00 น. วัวทั้งหมดจะวิ่งเป็นวงกลมรอบๆ ลานซึ่งมีเสาอยู่ตรงกลาง จะมีสองกลุ่ม ทั้งหมดมี 19 ตัว เรียกว่า วัวนอก กับ วัวคาน ซึ่งเป็น วัวที่มาร่วมเล่นด้วยโดยไม่แข่งขัน โดยที่วัวตัวในสุดจะเป็นวัวที่ตัวใหญ่ที่สุด และขนาดตัวของวัวก็จะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ



การเตรียมสถานที่เล่นวัวลาน ต้องมีที่เป็นลานกว้างสำหรับวัววิ่ง ปักหลักเกียด ซึ่งเป็นหลักไม้ไว้กลางลาน มีศูนย์กลางและเชือกพรวนไปตามแนวรัศมีของลานเป็น วงกลม แล้วนำวัวตัวผุ้มาผูกติดเป็นรัศมีออกไปยาว และมีราวสำหรับพักวัว การละเล่นจะมีผู้มาร่วมหลายคณะ
แล้วก็จะมีการต่อรองราคาเพราะความเห็นไม่ตรงกัน ของผู้ชมและเจ้าของ เมื่อการต่อรองเสร็จสิ้นก็จะนำวัวนอกมาผูกวิ่งเป็นวงนอกสุด (ซึ่งมีระยะการวิ่งไกลมาก) หลังจากนั้นก็ปล่อยให้มันวิ่ง แล้วก็ใช้เหล็กแหลมแทงมันเพื่อกระตุ้นพลัง การแพ้ชนะคือ เช่น วัวนอกหมดแรง หรือ วัวคานเชือกหลุด หรือวัวรองโดนวัวนอกแซงแล้วเบียดเข้ามาข้างในแทนตำแหน่งวัวรอง
การแข่งขันจะมี 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายวัวรอง และฝ่ายวัวนอก                                          ฝ่ายวัวรอง จะผูกวัวไว้ตามเชือกพรวนตามรัศมีของบานประมาณ 17-20 ตัว ตามแต่ตกลง แต่ต้องคัดเลือกวัวฝีเท้าดีประมาณ 3 ตัว ไว้รอบนอกคอยวิ่งกันมิให้วัวนอกของอีกฝ่ายหนึ่งที่จะนำมาผูกวิ่งแซงได้                                                                    ฝ่ายวัวนอก จะนำวัวที่มีฝีเท้าดีที่สุดมาผูกทับกับวัวรอง เพื่อจะได้แข่งขันกันว่าวัวใครมีฝีเท้าดีและเมื่อปล่อยวัวแล้ว ถ้าวัวนอกวิ่งแซงวัวรองได้และสามารถลากวัวรองไปได้อย่างไม่เป็นขบวนและทำให้วัวรองดิ้นหลุดจากระดับแถว แสดงว่าวัวนอกชนะ แต่ถ้าวัวรองสามารถวิ่งแซงวัวนอกและลากวัวนอกไปจนทำให้ดิ้นออกมาจากรัศมีแถวได้ ก็ถือว่าวัวรองชนะ ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแซงซึ่งกันและกันได้ก็เสมอกัน 





ประวัติ วัวลาน

     


     วัวลาน หรือ วัวระดอก เป็น การละเล่นพื้นบ้านในภาคกลางของไทย โดยใช้วัวพันธุ์ไทย มักจะเล่นในเวลากลางคืน เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ทำงานในตอนกลางวัน การเล่นวัวลานใช้วัวที่มีอายุประมาณ 5-9 ปี วัวแต่ละตัวจะมีเครื่องประดับวัวที่สวยงาม สำหรับสถานที่เล่นวัวลานนั้น นิยมเล่นกันในผืนนาที่ร้างไม่มีการทำนาหรือที่บริเวณกว้างและเรียบการเล่นวัวลาน ได้มีวิวัฒนาการมาจากการใช้วัวนวดข้าว เพราะลักษณะลานนวดข้าวเป็นวงกลมเป็นดินเหนียวที่อัดแน่นเป็นพื้นเรียบ แล้วส่วนใหญ่ชาวนาจะทาพื้นด้วยมูลวัวอีกทีหนึ่ง วิธีการนวดข้าวนั้น ชาวนาจะแยกเมล็ดข้าวออกจากรวงหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว โดยใช้แรงวัวมาช่วยนวดข้าว ชาวนาจะผูกวัวเรียงเป็นแถวหน้ากระดานไว้กับเสากลางลานบ้าน วัวที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลาง ไม่ต้องใช้กำลังและฝีเท้ามาก เพราะอยู่ในช่วงหมุนรอบสั้นวนเป็นรอบ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าข้าวจะหลุดออกจากรวงข้าวหมด แต่วัวตัวที่อยู่นอกสุดอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง ระยะทางที่ต้องหมุนจะยาวกว่า จึงต้องเลือกวัวตัวที่มีกำลังและฝีเท้าดีด้วยเหตุนี้ วัวหมุนรอบและเหยียบย่ำจนเมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว เมล็ดข้าวเปลือก วัวหมุนรอบและเหยียบย่ำจนเมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว เมล็ดข้าวเปลือกจะหล่นบนพื้นลานที่ปราบไว้ดีแล้ว การนวดข้าวจึงเกิดการละเล่นพื้นบ้านวัวลาน